top of page
playmobil-771313_960_720.jpg

BEESGREEN

land-use.jpg

Urban Eco Worriors

E_SDG goals_icons-individual-rgb-04.png
E_SDG goals_icons-individual-rgb-11.png

"เราไม่สามารถจะแก้ปัญหาได้ด้วยชุดความคิดเดิมๆที่เราสร้างปัญหานั้นขึ้นมา"

 

                                                       Albert Einstein

Problems

ตามสถิติของการคัดแยกขยะในประเทศไทย มีเพียงขยะ 30% เท่านั้นที่ได้กลับเข้าสู่กระบวนการ recycle อย่างสมบูรณ์ ขยะต่างๆที่เหลือได้หายไปจากระบบ ในบางพื้นที่ ขยะครัวเรือนถูกนำไปเผา ฝังกลบในดิน หรือถูกทิ้งไปในธรรมชาติ การมีระบบเก็บขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เกิดมลภาวะในสิ่งแวดล้อม

โครงการแยกขยะภาคครัวเรือนที่ประสบความล้มเหลวส่วนใหญ่ เกิดจากการนำโมเดลจากต่างประเทศมาใช้ โดยลืมคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนในเมืองของไทย และไม่เข้าใจระบบผังเมืองที่เราอยู่อาศัย จากงานวิจัยของ BeesGreen ที่ได้ลงสำรวจความต้องการของผู้อยู่อาศัยในเมืองทำให้ได้ทราบถึงเหตุผลของการไม่แยกขยะและพัฒนาระบบการจัดการขยะใหม่แบบในพื้นที่เมือง 

Know the Facts

48e8298317a41bbe43122026f8be66ec--ikea-k
iStock_56637140_MEDIUM.jpg
53465059_2047273671993667_58144722565495

ไม่มีอุปกรณ์เครื่องมือที่ช่วยให้คัดแยกขยะได้อย่างง่ายและสะดวก 

 

จากการสำรวจพบว่าผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองรับรู้เรื่องปัญหาขยะของเมืองและอยากมีส่วนร่วมกับการแก้ไขปัญหา เพียงแต่ไม่มีหน่วยงานใดสามารถนำเสนอทางแก้ที่ชนะใจผู้บริโภคได้ โดยส่วนใหญ่ทางแก้มักมากับการต้องเสียสละเวลา พลังงาน และทรัพย์สิน ซึ่งไม่ตอบสนองความต้องการ

ขาดความรู้ความชำนาญในการคัดแยกขยะ   

 

การคัดแยกขยะครัวเรือนออกเป็นประเภทต่างๆต้องใช้ความรู้และความเข้าใจประเภทของวัสดุที่แตกต่างกันอย่างแม่นยำพอ การแยกขยะจึงจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งส่วนใหญ่ยังมีความสับสนในการแยกขยะในแต่ละถัง เนื่องจากภาษาบนถังแยกขยะในแต่ละที่มีความแตกต่างกันอย่างมาก

ขาดการเชื่อมต่อกับเจ้าหน้าที่รับเก็บขยะ

    

เมื่อผู้บริโภคลงมือแยกขยะแล้ว ปัญหาที่ตามมาคือการขาดการเชื่อมต่อกับผู้รับขยะ ผู้บริโภคที่อาศัยส่วนใหญ่อยู่ในเมือง เวลาที่ต้องการทิ้งขยะไม่สัมพันธ์กับช่วงเวลาที่ผู้เก็บขยะทำงาน เกิดช่องว่างของการเชื่อมกัน ขยะถูกเก็บไว้ในครัวเรือนจำนวนมาก ทำให้การไม่แยกขยะมีความสะดวกมากกว่า 

plastic-waste-single-use-worldwide-consu

ภาครัฐไม่มีโรงงานแยกขยะที่เป็นระบบ

    

ระบบการเก็บขยะของรัฐยังคงเป็นระบบที่เก็บขยะทุกอย่างรวมกันแล้วนำไปทิ้งที่บ่อพักขยะโดยตรงโดยไม่มีขั้นตอนแยกขยะวัสดุแต่ละประเภทเหมือนอย่างในต่างประเทศ เนื่องจากภาครัฐอ้างว่าขาดแคลนงบประมาณ ส่งผลให้ครัวเรือนมองว่าแม้แต่ภาครัฐก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการแยกขยะปลายทาง จึงไม่เกิดความร่วมมือในการแยกขยะของคนทั้งประเทศ

25240464582_c07f8110c5_k.jpg

Innovative Tools

BeesGreen ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบอุปกรณ์และระบบการจัดการที่ให้ทั้งความสะดวกสบาย และจูงใจให้เกิดความอยากให้ความร่วมมือในการแยกขยะ อุปกรณ์ต่างๆถูกคิดค้นภายใต้แนวคิดว่าจะต้องคุ้มค่ากับการลงทุน ให้ความง่ายและสะดวก และลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น เพื่อเหลือกำไรมาสร้างผลกระทบเชิงบวกให้สังคมอย่างสูงสุดและมีประสิทธิภาพ อุปกรณ์ต่างๆและระบบการดำเนินงานถูกออกแบบเพื่อการเชื่อมต่อ 4 ข้อคือ

Comfort

Connectivity

Management

People

สร้างอุปกรณ์ให้ครัวเรือนสามารถแยกขยะได้อย่างง่ายดาย

    

คิดค้นอุปกรณ์พิเศษเพื่อการแยกขยะ โดยออกแบบการแยกขยะแต่ละประเภทง่ายต่อความเข้าใจ ทำจากวัสดุ recycle ด้วยแรงงานชาวบ้านเพื่อกระจายรายได้ให้แก่สังคม ผู้ให้ขยะจะได้รับถุงเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเมื่อใช้บริการเรียกเก็บขยะ

สร้างระบบเชื่อมต่อกับผู้ให้บริการสำหรับนัดหมายการเก็บขยะ 

    

BeesGreen Application เป็นเครื่องมือการนัดเก็บขยะจากครัวเรือนเหมาะสมกับเวลาที่ต้องการ  Application ยังเป็นเครื่องมือสื่อสารถึงผู้บริโภคที่ต้องการสนับสนุนโครงการด้านสังคมของ BeesGreen อีกด้วย

สร้างระบบขนส่งขยะที่ต้นทุนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม    

    

BeesGreen เน้นจัดการระบบต้นทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการออกแบบนวัตกรรม ฺBeesGreen Mobile Unit รถจัดการขยะแนวคิดใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ถูกออกแบบให้มีความคล่องตัวในย่านที่มีถนนเล็กและซับซ้อน มีระบบสื่อสารเชื่อมต่อกันได้

สร้างอาชีพใหม่ : นักจัดการแยกขยะมืออาชีพ    

    

BeesGreen ต้องการยกระดับอาชีพพนักงานเก็บขยะให้เป็นผู้พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของเมือง พนักงานที่ออกให้บริการจะได้รับการฝึกให้มีความสามารถแยกขยะวัสดุในเชิงลึก มีความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมในมิติต่างๆและสามารถพูดคุยหรือสอนบุคคลภายนอกได้ BeesGreen วางแผนจะสร้างบุคลากรมืออาชีพจากน้องๆนักเรียนที่ด้อยโอกาส เพื่อให้เป็นทูตของBeesGreen เพื่อร่วมเติบโตด้วยกันต่อไป

picking-up-trash.jpg

Business Concept

      BeesGreen ดำเนินกิจการเป็นธุรกิจเพื่อสังคม ให้บริการรับซื้อขยะวัสดุที่สามารถนำมา recycle ได้จากครัวเรือนและจำหน่ายให้กับภาคอุตสาหกรรม วัตถุประสงค์หลักของ BeesGreen คือการสร้างระบบการเก็บขยะในเขตเมืองให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเกินกว่า 90% และยังสามารถแยกประเภทวัสดุที่ตลาดต้องการได้อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างฐานข้อมูลของขยะในเมืองเพื่อให้บริการกับธุรกิจต่างๆ เพื่อสร้างโอกาสทางด้านอาชีพให้กับน้องๆผู้ด้อยโอกาส 

Social Mission

      BeesGreen มองว่าระบบจัดเก็บขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพก่อให้เกิดผลกระทบกับการเติบโตของ Circular Economy เนื่องจากจะมีทรัพยากรวัสดุสูญหายไปเป็นจำนวนมากหรือมีสภาพเสียหายจนไม่สามารถนำมาใช้ผลิตสินค้าใหม่ได้ BeesGreen ต้องการจะเป็นผู้แก้ปัญหานี้ โดยเราเชื่อว่าระบบเก็บขยะที่ดีจะเป็นระบบที่ส่งเสริมให้ทรัพยากรวัสดุกลับเข้ามาในระบบเพื่อผลิตใหม่เพิ่มมากขึ้น เพราะฉะนั้น BeesGreen จึงเป็นระบบสำคัญเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเติบโตของ Circular Economy ในอนาคต

BeesGreen มีจุดมุ่งหมายในการสร้างโอกาสและพัฒนาอาชีพนักเก็บขยะ ยกมาตรฐานวิชาชีพนี้ให้เป็นอาชีพที่มีเกียรติและได้รับการดูแลที่ดีด้วยระบบการทำงานแบบมืออาชีพ เรานำกำไรส่วนหนึ่งส่วนหนึ่งไปพัฒนาเยาวชนด้อยโอกาสที่ต้องการใช้เวลาหลังเลิกเรียนในการสร้างรายได้ด้วยตัวเองหรือต้องการทุนทรัพย์ในด้านการศึกษา มาทำงานเป็นพนักงานทูต BeesGreen น้องๆจะได้รับการอบรมให้มีความเข้าใจหลากหลายในเรื่องสิ่งแวดล้อมซึ่งโรงเรียนไม่สามารถให้ได้ ผ่านการเรียนรู้ในรูปแบบจริงและสนุกสนาน BeesGreen ต้องการที่จะสร้างสังคมแห่งความร่วมมือในการดูแลสิ่งแวดล้อมให้เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ที่ BeesGreen ลงปฏิบัติการ

FOUNDERS & PARTNERS

25446463_10159790274860302_6997132112853

BeesGreen เป็นหนึ่งบริษัทในเครือธุรกิจเพื่อสังคมของ EcoloTech ผู้ดำเนินธุรกิจในด้านการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยี โดยแนวคิดการก่อตั้ง BeesGreen เป็นความร่วมมือระหว่าง ภาคภูมิ มะหะสิทธิ์ ประธานกรรมการ และ อาจารย์ ปเนท มโนไมวิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการขยะ จากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย จากประสบการณ์ทำงานหลายปีในด้านการจัดการขยะชุมชน อจ.ดร.ปเนทได้ประสพความสำเร็จและมีผลงานวิจัยออกมาอย่างมากมาย โดยเฉพาะงานค้นคว้าปัญหาขยะในเขตพื้นที่เมือง ซึ่งการจัดการขยะค่อนข้างมีประสิทธิภาพต่ำ เนื่องจากครัวเรือนไม่ให้ความร่วมมือในการแยกขยะ อีกทั้งเทศบาลเองก็ไม่มีบุคลากรแยกขยะปลายทาง ก่อให้เกิดขยะจำนวนมากที่ต้องถูกนำไปฝังกลบ สร้างปัญหาด้านมลภาวะเป็นอย่างมาก

RTR31HUY-1024x652.jpg
00OmgYr2No.jpg
csm_Klimaschutzprogramm-Kenya-7190-10_fc
bottom of page