ดื่มอากาศช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร
งานวิจัยจาก Reuters แสดงให้เห็นว่า เรามีการซื้อขายน้ำขวดพลาสติกบนโลกนาทีละ 1,000,000 ขวด หรือวันละ 1,300,000,000 ขวดแต่มีขวดเพียง 25% เท่านั้นที่กลับเข้าสู่กระบวนการ recycle อีก 20% ถูกนำไปเผาหรือฝังกลบ และที่เหลือหลุดหายไปในธรรมชาติโดยเฉพาะใต้ทะเล ซึ่งขวดพลาสติกจะย่อยสลายไปภายใน 700 ปี
เครื่องผลิตน้ำจากอากาศ 1 เครื่องทดแทนการผลิตขวดน้ำพลาสติกได้ถึง 109,500 ขวดต่อเครื่องตลอดอายุการใช้งาน
Welcome to the plastic planet
โลกสมัยใหม่ โลกแห่งขยะขวดและกากน้ำมัน
ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกเป็นตลาดที่มีปริมาณการบริโภคมากถึง 50,000 ล้านขวดต่อปี โดยมีมูลค่าในตลาดในประเทศไทยโดยรวมปีละ 37,000 ล้านบาท และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอยู่ทุกปี
ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
• การผลิตน้ำขวดต้องใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาย สำหรับการผลิตน้ำขวด 1 ลิตรเราต้องเสียน้ำบริสุทธิ์ไปถึง 3 ลิตรและใช้น้ำมัน ¼ ลิตร
• ขวด PET เป็นขวดที่ย่อยสลายไม่ได้เองตามธรรมชาติเมื่อถูกนำไปฝังดิน จะแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กๆและสามารถซึมเข้าสู่กระแสน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลได้ เมื่อสัตว์ต่างๆที่เป็นอาหารมนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ก็สามารถรับสารพิษเหล่านี้เข้าไปในร่างกายด้วย
• ร้อยละ 80 ของขวดพลาสติกที่ถูกใช้ตามเกาะต่างๆจะถูกนำไปทำลายโดยการเผา ฝังดิน หรือทิ้งลงทะเล ทำให้สัตว์น้ำในบริเวณนั้นมากัดกินและรับสารพิษเข้าตัวก่อนจะถูกนำมาเป็นอาหารมนุษย์
การแยกขยะ อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องที่สุด
ระบบการจัดแยกขยะเป็นสิ่งที่ดี แต่ในปัจจุบันจะทำอย่างไรจึงจะสามารถบริโภคได้โดยไม่สร้างขยะ ซึ่งในความเป็นจริง มีผู้บริโภคจำนวนไม่มากที่ยอมแยกขยะตามประเภท อีกทั้งโครงการที่อยู่อาศัยเพียงไม่กี่โครงการที่มีถังแยกขยะอย่างเป็นรูปธรรม
หลายๆแนวคิดได้มีการพยายามนำขวดพลาสติกมาประดิษฐ์เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อไป แต่ก็เป็นเพียงแนวคิดเท่านั้น ไม่สามารถพัฒนาให้เติบโตขึ้นในวงกว้างได้ ซึ่งท้ายสุดการบริโภคแบบไม่มีขยะก็น่าจะเป็นสิ่งที่สมเหตุสมผลกว่า

ในแต่ละปี เราต้องใช้น้ำมันราวๆ 17 ล้านบาเรลเพื่อผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด เทียบเท่ากับจำนวนการใช้น้ำมันของรถจำนวน 1 ล้านคันเป็นเวลา 1 ปี
และยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ขึ้นไปชั้นบรรยากาศโลกปีละ 2.5 ล้านตัน
ที่มาข้อมูล “Why Not Bottle Water?” Retrieved April 22, 2009 from
What’s Tappenning™ Web site:
WATER FACTS
เส้นทางชีวิตของน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก
แหล่งน้ำ บำบัด บรรจุขวด ขนส่ง ร้านค้า ขนส่ง บริโภค ขนส่ง กำจัดขยะ

ENERGY CRISIS AND
WORLD POLLUTION
เราสามารถแก้ 3 ปัญหาทั้ง 3 ด้านได้ในเวลาเดียวกัน
สถาณการณ์ปัจจุบัน
ในหลายประเทศที่ยากจน ประชากรไม่มีสถานะพอที่จะซื้อน้ำดื่มสะอาดมาบริโภคได้
แต่ในประเทศร่ำรวย แม้แต่ในประเทศที่น้ำประปาสามารถดื่มได้ ผู้บริโภคจำเป็นต้องจ่ายค่าน้ำดื่มบรรจุขวดแพงกว่า 100 -1000 เท่าของราคาน้ำประปา
ราคาน้ำดื่มบรรจุขวดจะมีการขึ้นราคาเรื่อยๆเนื่องจากแหล่งน้ำบริสุทธิ์บนโลกจะมีน้อยลง รวมถึงราคาน้ำมันที่ใช้ในการกลั่นเพื่อผลิตขวดพลาสติก การขนส่ง และการบรรจุขวดจะถีบตัวสูงขึ้นเรื่อยๆ
ในหลายๆพื้นที่ในโลก น้ำดื่มบรรจุขวดเป็นทางเลือกเดียวสำหรับผู้บริโภค
แต่ในทางกลับกัน การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดก็สร้างปัญหามลภาวะอย่างมากมาย ทั้งกระบวนการผลิต การขนส่ง และส่วนขยะที่เหลือใหญ่ก็ถูกโยนทิ้งไปในธรรมชาติ
ผลสำรวจในปีที่ผ่านมา กระบวนการเพื่อการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและการขนส่งถึงผู้บริโภค ก่อให้เกิด CO2 ไปทั่วโลกถึง 39.7 พันล้านกิโลกรัม
น้ำบริสุทธิ์ที่ได้จาก Air Moisture Extraction System® ไม่มีการผลิตมลภาวะใดๆ
ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก
Air Moisture Extraction System® มีจุดกำเหนิดจากแนวคิดที่ต้องการลดการใช้พลังงานและค่าใช้จ่ายต่างๆที่สิ้นเปลือง ที่จะหมดไปกับการขนส่งน้ำบรรจุขวดในระยะไกลๆและการผลิตขวดพลาสติกต่างๆ
สถาบัน Pacific Institute มีการวิจัยว่า การผลิตน้ำบรรจุขวด 1 ลิตร ต้องมีการใช้น้ำประปา 3ลิตร และน้ำมัน ¼ ลิตร
ผลกระทบต่อโลกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์อันเนื่องมาจากการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด
การใช้พลังงานเริ่มต้นจากขั้นตอนการกรองน้ำจากโรงงาน การกรอกน้ำใส่ขวด ขนส่งโดยรถบรรทุก เรือ หรือทางเครื่องบินเพื่อไปถึงผู้บริโภค การแช่เย็นในร้านค้า หรือที่พักอาศัย และการนำขวดมารีไซเคิล หรือบางที่ก็ใช้วิธีโยนทิ้งไปในธรรมชาติ
-
ในปี 2006 มีการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดมากถึง 178,000 ล้านลิตร
-
การผลิตในแต่ละขวดก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 0.16 กิโลกรัม
-
ในปี 2006 การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกได้สร้างมลภาวะถึง 28.5 พันล้าน kg CO2. (178,000 ล้านลิตร x 0.16 กิโลกรัม)
การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกมีการเดินทางโดยรถขนส่งที่โดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 กิโลเมตร
-
มลภาวะที่เกิดจากการขนส่งทางรถเท่ากับ 63 กรัมต่อ / ตัน / กิโลเมตร
-
มลภาวะที่เกิดจากการขนส่งน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกทางรถเท่ากับ 0.063 กก / ลิตร
-
ในปี 2006 การขนส่งน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกได้สร้างมลภาวะถึง 11.2 พันล้าน kg CO2. (178,000 ล้านลิตร x 0.63 กิโลกรัม)
