top of page
tenYears_layer-lg_edited.jpg

ภาพจำลองปริมาณขวดน้ำพลาสติกที่ถูกผลิตเพื่อใช้ดื่มในสหรัฐอเมริการประเทศเดียวต่อปี

ดื่มอากาศช่วยลดโลกร้อนได้อย่างไร

 

งานวิจัยจาก Reuters แสดงให้เห็นว่า เรามีการซื้อขายน้ำขวดพลาสติกบนโลกนาทีละ 1,000,000 ขวด หรือวันละ 1,300,000,000 ขวดแต่มีขวดเพียง 25% เท่านั้นที่กลับเข้าสู่กระบวนการ recycle อีก 20% ถูกนำไปเผาหรือฝังกลบ และที่เหลือหลุดหายไปในธรรมชาติโดยเฉพาะใต้ทะเล ซึ่งขวดพลาสติกจะย่อยสลายไปภายใน 700 ปี กระบวนการทั้งหมดนี้สร้าง CO2 ปีละหลายพันล้านตันทั่วโลก

ในแต่ละปี เราต้องใช้น้ำมันราวๆ 17 ล้านบาเรลเพื่อผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด เทียบเท่ากับจำนวนการใช้น้ำมันของรถจำนวน 1 ล้านคันเป็นเวลา 1 ปี

 

และยังปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ ขึ้นไปชั้นบรรยากาศโลกปีละ 2.5 ล้านตัน

 

ที่มาข้อมูล   “Why Not Bottle Water?” Retrieved April 22, 2009 from

What’s Tappenning™ Web site: http://www.tappenning.com

WATER FACTS

The end of plastic planet

โลกที่กำลังป่วยหนักจากขยะขวดพลาสติกและกากน้ำมัน

สถาบัน Pacific Institute มีการวิจัยว่า การผลิตน้ำบรรจุขวด 1 ลิตร ต้องมีการใช้น้ำประปา 3ลิตร และน้ำมัน ¼ ลิตร

ตลาดน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกในประเทศไทยเป็นตลาดที่มีปริมาณการบริโภคมากถึง 50,000 ล้านขวดต่อปี โดยมีมูลค่าในตลาดในประเทศไทยโดยรวมปีละ 37,000 ล้านบาท และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอยู่ทุกปี

 

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 

•  การผลิตน้ำขวดต้องใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมากมาย สำหรับการผลิตน้ำขวด 1 ลิตรเราต้องเสียน้ำบริสุทธิ์ไปถึง 3 ลิตรและใช้น้ำมัน ¼ ลิตร

 

•  ขวด PET เป็นขวดที่ย่อยสลายไม่ได้เองตามธรรมชาติเมื่อถูกนำไปฝังดิน  จะแตกกระจายเป็นชิ้นเล็กๆและสามารถซึมเข้าสู่กระแสน้ำใต้ดินหรือน้ำบาดาลได้ เมื่อสัตว์ต่างๆที่เป็นอาหารมนุษย์อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ก็สามารถรับสารพิษเหล่านี้เข้าไปในร่างกายด้วย

 

•  ร้อยละ 80 ของขวดพลาสติกที่ถูกใช้ตามเกาะต่างๆจะถูกนำไปทำลายโดยการเผา ฝังดิน หรือทิ้งลงทะเล ทำให้สัตว์น้ำในบริเวณนั้นมากัดกินและรับสารพิษเข้าตัวก่อนจะถูกนำมาเป็นอาหารมนุษย์

     เส้นทางชีวิตของน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก

 

ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติก

 

ผลสำรวจในปีที่ผ่านมา  กระบวนการเพื่อการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดและการขนส่งถึงผู้บริโภค ก่อให้เกิด  CO2 ไปทั่วโลกถึง 39.7 พันล้านกิโลกรัม

 

การใช้พลังงานเริ่มต้นจากขั้นตอนการกรองน้ำจากโรงงาน  การกรอกน้ำใส่ขวด  ขนส่งโดยรถบรรทุก เรือ หรือทางเครื่องบินเพื่อไปถึงผู้บริโภค การแช่เย็นในร้านค้า หรือที่พักอาศัย และการนำขวดมารีไซเคิล หรือบางที่ก็ใช้วิธีโยนทิ้งไปในธรรมชาติ

 

  • ในปี 2006 มีการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดมากถึง  178,000 ล้านลิตร

  • การผลิตในแต่ละขวดก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก  0.16 กิโลกรัม

  • ในปี 2006 การผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกได้สร้างมลภาวะถึง 28.5 พันล้าน kg CO2. (178,000 ล้านลิตร x 0.16 กิโลกรัม)

 

  การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกมีการเดินทางโดยรถขนส่งที่โดยเฉลี่ยประมาณ 1,000 กิโลเมตร

 

  • มลภาวะที่เกิดจากการขนส่งทางรถเท่ากับ 63 กรัมต่อ / ตัน / กิโลเมตร

  • มลภาวะที่เกิดจากการขนส่งน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกทางรถเท่ากับ 0.063 กก / ลิตร

  • ในปี 2006 การขนส่งน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกได้สร้างมลภาวะถึง 11.2 พันล้าน kg CO2. (178,000 ล้านลิตร x 0.63 กิโลกรัม)

           แหล่งน้ำ     บำบัด    บรรจุขวด   ขนส่ง      ร้านค้า      ขนส่ง     บริโภค     ขนส่ง     กำจัดขยะ

 

การแยกขยะ เป็นการหลบหน้ากับปัญหา

ระบบการจัดแยกขยะเป็นสิ่งที่ดี แต่ในปัจจุบันการบริโภคมีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆทำให้สัดส่วนของประชาชนผู้แยกขยะน้อยลงไปเรื่อยๆ

 

การแยกขยะมีความยากทั้งในด้านการจัดการ  อุปกรณ์ การให้การศึกษาและวิถีชีวิตของผู้คน ความตั้งใจจริงของภาครัฐ ทำให้ระบบที่จูงใจให้ผู้บริโภคในประเทศไทยแยกขยะเกือบ 100% ประสพกับความล้มเหลว

การพยายามจะ recycle พลาสติกที่ขาดทรัพยากรที่ทำให้เป็นไปได้  ผลคือขยะทุกอย่างที่บริโภคถูกนำไปถมไว้ใต้ดินเพื่อกลบปัญหา ส่งผลกระทบในวงกว้างกับแหล่งน้ำใต้ดินและอาหารของมนุษย์

 

"เมื่อสิ่งแวดล้อมไม่ดี เราจะคาดหวังว่าอาหารจะดีได้อย่างไร "

เชฟโบ  

ร้านอาหาร BO LAN ร้านอาหาร Zero Waste แรกของไทย

122203320_834131980667025_6325045098849481557_n.jpg

เครื่องผลิตน้ำจากอากาศของเราจะช่วยให้โลกดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง

machine hotel.png

จากการศึกษาโครงสร้างตลาดการบริโภคน้ำในประเทศไทย  ประชากรในประเทศไทยมีการบริโภคน้ำเป็นหลักจาก 2 แหล่งที่มาคือ

1. น้ำจากเครื่องกรองน้ำ

2. ซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดจากร้านค้าหรือส่งมาตามบ้าน

 

แต่เมื่อศึกษาลงไปในเชิงลึกแล้ว เราพบข้อมูลว่าน้ำบรรจุขวดพลาสติกมีอัตราการขยายตัวสูงมากจากมูลค่าตลาด 30,000 ล้านบาทขึ้นเป็น 50,000 ล้านบาทภายในระยะเวลาไม่กี่ปี พร้อมกับมูลค่าที่ลดลงของตลาดเครื่องกรองน้ำ นั่นเป็นสัญญาณบ่งชี้วัดว่า ผลงานการตลาดของบริษัทผู้ผลิตน้ำบรรจุขวดขายกำลังประสบความสำเร็จมากขึ้นเรื่อยๆ และหมายถึงจำนวนปริมาณขยะขวดพลาสติกก็จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆเช่นกัน ขณะที่เครื่องกรองน้ำกลับไม่ได้รับความนิยมมากเท่าที่ควร เนื่องจากการกรองน้ำยังต้องอิงกับแหล่งน้ำที่มาจากธรรมชาติที่มีปัญหามากขึ้นเรื่อยๆ เครื่องกรองน้ำต้นทุนต่ำทั่วไปจึงไม่สามารถรับมือกับน้ำที่ปนเปื้อนได้ น้ำที่ได้จากการกรองในบางพื้นที่มีกลิ่นฉุนและไม่น่าดื่ม ทำให้ตลาดเครื่องกรองน้ำถูกจำกัดอยู่ในพื้นที่เขตใกล้เมืองเท่านั้น

 

เครื่องผลิตน้ำดื่มจากโมเลกุลอากาศ 1 เครื่อง สามารถทดแทนการผลิตขวดน้ำพลาสติกและพลังงานที่ต้องใช้ในการขนส่งน้ำถึง 109,000 ขวด ขณะเดียวกันก็ยังให้น้ำที่มีคุณภาพสูงกว่าเครื่องกรองน้ำใดๆในโลก เป็นการแลกที่คุ้มค่ามาก เป็นนวัตกรรมที่จะสามารถช่วยลดปริมาณการใช้ขวดน้ำพลาสติกลงได้ เมื่อประชาชนมั่นใจในคุณภาพน้ำที่สะอาดและสามารถผลิตได้เองในทุกพื้นที่โดยไม่ต้องมีระบบประปา ขนส่ง ที่ยุ่งยาก กระทำควบคู่ไปกับการให้การศึกษาและสนับสนุนโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมของบริษัท

bottom of page