top of page
o-WATER-BOTTLE-TRASH-facebook.jpg

OCEAN PINK

1200px-Sustainable_Development_Goal_6_ed
E_SDG goals_icons-individual-rgb-14.png

Save Our Ocean With Art & Love

“ทุกวันนี้มีขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลเป็นจำนวนมหาศาล รวมตัวกันได้เทียบเท่ากับรัฐเท็กซัส ซึ่งกำลังไหลวนเรื่อยๆ ไปในท้องมหาสมุทรของโลก”

"Charles Moore"

นักอนุรักษ์ทางทะเลกล่าวในงาน TedX New York

Problems

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลเป็นอันดับ 6 ของโลก ขณะที่ 5 ประเทศหลักในทวีปเอเชียทิ้งขยะลงทะเลเป็น 60%ของขยะที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทร

( ข้อมูลจาก Science.org )

 

ปัญหาจากการมีขยะจำนวนมหาศาลที่ถูกทิ้งลงทะเลทุกวันทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย และมีผลกระทบชัดเจนต่อมนุษย์และสัตว์น้ำในทะเลซึ่งสามารถสรุปเป็น 3 ประเด็นหลักได้แก่

Impact of

ocean eco system

Impact of

human food chain

Impact of

human health

ภายในปี 2050 จำนวนขยะในท้องทะเลจะมีจำนวนที่

มากกว่าปลา โดยองค์กรสหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยถึงสภาพของมหาสมุทรที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ การใช้พลาสติกมากมายบวกกับการจัดการขยะพลาสติกอย่างไม่ถูกวิธีจะสร้างอันตรายต่อวงจรชีวิตของสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเล โดยเฉพาะอาหารของสัตว์น้ำในทะเลส่วนใหญ่ คือ แพลงตอน และปลาตัวเล็ก เมื่อไม่สามารถแยกระหว่างถุงพลาสติกและอาหารได้ สัตว์น้ำเหล่านั้นจึงกลืนขยะพลาสติกเข้าไปในท้อง ซึ่งทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติและไม่สามารถย่อยพลาสติกได้จึงทำให้เสียชีวิตในที่สุด มีบันทึกว่ามีสัตว์ที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้เกือบ 2 ล้านตัวต่อปี

จากผลการศึกษาระบุว่าผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีความรุนแรงมหาศาล เนื่องมาจากกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพไม่สามารถกําจัดพลาสติกเหล่านี้ได้ ทั้งพลาสติกและสารเติมแต่งต่างๆ ไม่ได้เพียงแค่วนเวียนอยู่รอบๆตัวเราเท่านั้น แต่มันสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยการกินอาหารจากสัตว์ทะเลที่กลืนกินพลาสติกเข้าไป การดื่มน้ำ หรือ

ทางอื่นๆ ซึ่งสารเหล่านี้สามารถตรวจวัดได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในทุกๆปี พลาสติกประมาณ 1.5 ล้านตัน ได้ถูกใช้ในกระบวนการผลิตขวดน้ำสําหรับตลาดโลก โดยใช้กระบวนการที่มีการปล่อยสารพิษ ( toxics release) เช่น นิกเกิล, ethylbenzene, เอทิลีนออกไซด์และเบนซิน โดยขวดเหล่านี้ประกอบไปด้วยพลาสติกที่เรียกว่า terephthalate polyethylene (PET)

ขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลเมื่อโดนคลื่นลมและแสงอาทิตย์จะแตกตัวออกกลายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เรียกว่า ไมโครบีดส์ (Microbeads) มีการวิจัยในน่านน้ำญี่ปุ่นพบว่ามีสารพลาสติกในระบบย่อยอาหารและลำไส้ของปลา 49 ตัว จากทั้งหมด 64 ตัว ซึ่งขยะไมโครพลาสติกจะดูดซับสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (Polychlorinated biphenyls) หรือ พีซีบี (PCBs) พิษของพีซีบี

ไม่ได้ส่งผลแบบเฉียบพลัน แต่จะค่อยๆ สะสมในร่างกายทีละน้อยๆ เป็นเวลานานจนเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด โดยอาการเริ่มแรกของการเกิดพิษ คือ รู้สึกเหนื่อยล้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และแขนขาเกิดอาการบวม อาการต่อมาคือ เกิดฝีและตุ่มเล็กๆ ที่ผิวหนัง และเล็บคล้ำ เปลือกตาบวม นอกจากนี้ยังอาจทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน และอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้ทารกที่เกิดจากมารดาที่ได้รับสารพีซีบีจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าปกติ และมีอาการทางผิวหนัง เนื่องจากได้รับสารพิษผ่านทางรก

58c3bda1e064eb46155518f98a41ba47b856a6f5

Business Concept

ทุกปี  นักท่องเที่ยวจำนวนหลายแสนคนต่างพากันมาท่องเที่ยว ณ อุทยานแห่งชาติทางทะเล การบริโภคในสถานที่ของอุทยานจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่ตามมากับการท่องเที่ยว คือ จำนวนขยะมากมายซึ่งต้องการการดูแลอย่างถูกวิธี ซึ่งการนำขยะออกมากำจัดบนฝั่งนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทรัพยากรและพลังงานเพิ่มขึ้นมากมายแต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัดและกำลังคนที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้สถานที่ท่องเที่ยวหลายที่มีขยะสะสมเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกวัน ด้วยกระบวนการจัดการที่ต้องใช้ต้นทุนสูง และไม่มีการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอเพื่อให้เกิดการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อมรอบเกาะ โดยเฉพาะอุทยานในทะเลต่างๆ จนต้องมีนโยบายปิดเกาะเพื่อเก็บกวาดขยะและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล นำมาซึ่งการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่าหลายพันล้านต่อปี อาทิเช่น เกาะตาชัย เป็นต้น

 

Ocean Pink   เป็นธุรกิจเพื่อสังคม มองแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการใช้หลักการ การบริโภคที่ไม่สร้างขยะ  นำนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากต้นตอนั่นคือ

ความต้องการการบริโภคน้ำและอาหารจากภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีน้ำจากอากาศเป็นเทคโนโลยีแรกในการนำร่องในการแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ

1. "Give Best Water"

สร้างระบบน้ำดื่มที่เชื่อถือได้ และเป็นเทคโนโลยีใหม่  

ลดการพึ่งพาน้ำดื่มขวดพลาสติกจากฝั่ง โดยการสร้างระบบผลิตน้ำดื่มสะอาดที่ได้มาตรฐานมีอากาศที่บริสุทธิ์เป็นวัตถุดิบ น้ำดื่มจะไม่ต้องถูกบรรทุกขนย้ายมาจากฝั่งและไม่มีการสร้างขยะ เทคโนโลยี Air Water Generator System สร้างระบบผลิตน้ำดื่มที่ใช้พลังงานต่ำ ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะและมีต้นทุนเพียงค่าพลังงานเท่านั้น  เชื่อมต่อเข้ากับระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานคลื่นทะเลได้

units.jpg
bamboo.jpg

2. "Create A Sexy and Sustainable Way To Drink Water"

สร้างภาชนะที่ attractive น่าซื้อ

นักท่องเที่ยวอยากได้เป็นที่ระลึก 

สร้างแรงจูงใจให้กับนักท่องเที่ยวในการเข้าร่วมกับแนวคิดเรา ขวดน้ำส่วนบุคคลจะหาซื้อได้ภายใน ECOLOTECH SHOP  นักท่องเที่ยวสามารถนำขวดน้ำนี้ไปกดน้ำดื่มฟรีที่ Ocean Pink Water Station ที่จะมีอยู่บนจุดสำคัญของเกาะและในร้านค้าที่ร่วมโครงการ ขวดน้ำพกพานี้จะมีเอกลักษณ์พิเศษเนื่องจากจะถูกออกแบบจาก Designer ระดับโลก หรือ ศิลปินไทยที่อาสาเข้าร่วมสนับสนุนโครงการของเรา เป็นขวดทำจากวัสดุรีไซเคิลหรือวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และมีแบบเป็น Year Edition เท่านั้น

3. "Make It Fashionable"

ทำให้เป็นโมเดลต้นแบบของการใช้ชีวิต

สร้างรูปแบบการใช้งานที่ทันสมัยและโดดเด่น

การพกพาขวดน้ำยังมีข้อจำกัดในเรื่องความสะดวกสบาย เนื่องจากเมื่อขวดมีการบรรจุใส่น้ำแล้วจะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก Ocean Pink เล็งเห็นข้อจำกัดนี้เราจึงคิดค้นวิธีสร้างความนิยมโดยการพัฒนาตลาด container accessory สำหรับตอบสนองความต้องการต่างๆ โดยร่วมทำงานกับดีไซเนอร์สายแฟชั่นระดับโลกเพื่อออกแบบระบบการพกพาขวดน้ำที่น่าสนุก มีเอกลักษณ์เฉพาะของผู้พกพา ผลิตภัณฑ์ทุกราคาจะผลิตจากวัสดุที่ดีและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในการใช้แรงงานผู้ด้อยโอกาสทางสังคมในการผลิต ซึ่งจะเป็นการช่วยเหลือและส่งเสริมผู้ด้อยโอกาสให้มีรายได้เลี้ยงชีพไปในตัว เราพัฒนาธุรกิจใหม่ที่จะมาสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืนและเพื่อความสะดวกสบายในอนาคต

chicobag-repete-ultra-compact-reusable-b
VonWong_PlasticMermaid-2_Plastic_Beach.j

Where Profits Go

 Ocean Pink เป็นธุรกิจเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม เราต้องการรักษาธรรมชาติให้ดีขึ้นและต้องการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเจ้าหน้าที่มูลนิธิต่างๆที่ทำหน้าที่ดูแลสิ่งแวดล้อมให้สามารถมีเครื่องมือทำงานที่สะดวกสบายขึ้น กำไรของเรามุ่งไปที่การสร้างประโยชน์ให้ชุมชนที่อยู่อาศัยในสถานที่ท่องเที่ยวให้สามารถต่อยอดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ การจัดการกับกำไรของเรามีแนวทางดังนี้

2. Create Community Jobs

พัฒนาอาชีพเสริมให้ชุมชน

Ocean Pink สร้างโครงการส่งเสริมอาชีพ ให้ชาวบ้านมีรายได้ในช่วง Low season ของการท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพชีวิต คุณภาพการศึกษาเด็กๆ และฟื้นฟูอาชีพพื้นบ้าน เช่น การประมง โครงการจัดหานักออกแบบแฟชั่นมาทำงานร่วมกับชาวบ้าน สอนให้ชาวบ้านทำงานหัตถกรรมที่ส่งเสริมผลิตภัณฑ์ใหม่ๆของ Ocean Pinkเพื่อมาขายในช่วงที่เปิดให้มีการท่องเที่ยวได้

3. Support Artist Platform

สร้างกลุ่มศิลปินจิตอาสา

Ocean Pink สร้างเครือข่ายศิลปินจิตอาสาผู้สนใจการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องทะเล โดยเปิดพื้นที่การแสดงผลงานผ่านการสร้างสินค้า โดยศิลปินผู้ร่วมออกแบบผลิตภัณฑ์ของ Ocean Pink จะได้รับส่วนแบ่งรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้เกิดรายได้ของศิลปินเองอีกทางหนึ่ง

1. Environment Protection

ฟื้นฟูระบบนิเวศธรรมชาติ

Ocean Pink ส่งเสริมงานอาสาสมัครทุกพื้นที่ในเรื่องการจัดการขยะและพัฒนาสภาพแวดล้อม โดยจะสนับสนุนโครงการที่ผ่านการพิจารณาแล้ว สนับสนุนการจัดหาอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน ขณะเดียวกันจัดงบประมาณสร้างการเรียนรู้ให้บุคคลผู้สนใจเข้าร่วมทำงานเป็นจิตอาสาอีกด้วย

ATM-e1419116689701.jpg
917Ad4r7JQL._SY500_.jpg
World-Oceans-Day-660.jpg
bottom of page