ZNAIL
Low Carbon Emission Urban Mobility
Problems
จากงานวิจัยโครงการพัฒนาเมืองให้เดินได้ของ UDDC ( Urban Development and Design Center ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2017 พบว่ากรุงเทพมหานครและเมืองหลักอื่นๆในประเทศไทยมีปัญหาที่คล้ายกัน คือ รัฐบาลไม่ให้ความสนใจกับการพัฒนาเครือข่ายระบบขนส่งสาธารณะที่มีคุณภาพและครอบคลุมทุกพื้นที่ การเชื่อมต่อระหว่างระบบต่างๆขาดตอนและไม่มีความสะดวก ส่งผลให้ประชาชนหันมาใช้รถส่วนตัวกันมากขึ้นก่อให้เกิดปัญหาการตามมา คือ การจราจรที่ติดขัดกลางใจเมือง ปัญหาอากาศเป็นพิษและต้นทุนการเดินทางที่สูงขึ้นจากการมีรถส่วนตัว
ถึงแม้การมาของรถไฟฟ้ามีความคาดหวังว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาของการจราจรในเมืองใหญ่เบาบางลง แต่ผลจากงานวิจัยกลับพบว่าระบบรถไฟฟ้าไม่ได้ตอบโจทย์ผู้อยู่อาศัย 12 ล้านคนในเขตกรุงเทพที่ส่วนใหญ่ขยับออกมาอาศัยอยู่ชานเมือง ระบบรถไฟฟ้าที่ผ่านเฉพาะบางย่านทำให้ผู้โดยสารจำนวนกว่า 6 ล้านคน ต้องอาศัยพาหนะอื่นๆเช่น รถจักรยานยนต์รับจ้างหรือรถแท็กซี่เพื่อเชื่อมต่อระหว่างบ้านและระบบรถไฟฟ้าที่ดูไม่ตอบสนองแก่ความต้องการเดินทางโดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีระยะเวลาถึง 6 เดือนต่อปี
Understand the Facts
จากการศึกษาข้อมูลมูลค่าตลาดการขนส่งสาธารณะในเขตชุมชนของกรุงเทพมหานคร อ้างอิงข้อมูลจากกรมการขนส่งทางบก ปี 2558 พบว่า มีจำนวนรถจักรยานยนต์สาธารณะกว่า 105,894 ราย ให้บริการ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากยอดการขอจดทะเบียนรถจักรยานยนต์สาธารณะ แสดงให้เห็นว่าความต้องการระบบการขนส่งสาธารณะรองในพื้นที่ชุมชนยังอยู่ในระดับสูง รถสามล้อ ถือเป็นหนึ่งในระบบขนส่งสาธารณะที่เคยได้รับความนิยม เนื่องจากมีขนาดเล็ก สามารถเข้าถึงพื้นที่ซอกซอยของย่านได้เป็นอย่างดี แต่จากการเข้ามาของพาหนะส่วนบุคคลอย่าง มอเตอร์ไซค์ ทำให้ความนิยมของรถสามล้อลดลงจนได้สูญหายไปจากเมือง ทว่าการใช้มอเตอร์ไซค์ในการสัญจรในพื้นที่ชุมชน ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะทางเสียง และมลพิศทางอากาศเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีความปลอดภัยต่ำ และไม่เอื้อต่อการใช้ประโยชน์โดยกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย การชุบชีวิตรถสามล้อให้ทันสมัยจึงเป็นทางออกสำหรับวิถีชีวิตคนของในเมืองได้
ระบบรถไฟฟ้าในเมืองใหญ่ที่ไม่มีการวางผัง
ข้อสังเกตหนึ่งในงานวิจัยได้อธิบายว่าการพัฒนาเมืองของประเทศไทยเป็นไปแบบกระจายไปในแนวกว้างและมีความลึก ไม่ใช่แนวชุมชนรวมกลุ่มใกล้ขนส่งสาธารณะหลักอย่างเมืองในต่างประเทศ ทำให้ระยะทางจากบ้านสู่ขนส่งสาธารณะส่วนใหญ่เกินกว่าระยะทางที่เดินได้ ( มากกว่า 800 เมตร ) ประกอบกับการที่รัฐบาลให้ความสนใจพัฒนาทางเท้าค่อนข้างน้อย จึงทำให้ทางเท้าส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยในเวลากลางคืน ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตนอกการบริการเลือกที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวที่ทั้งสะดวกและปลอดภัยกว่าเป็นพาหนะหลักแทน
Innovative Solution
การสร้างระบบเชื่อมต่อการเดินทางที่สมบูรณ์
แนวคิดของ Znail เกิดจากงานวิจัยที่ต้องการสร้างระบบเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างบ้านและระบบขนส่งสาธารณะให้เป็นไปได้อย่างสมบูรณ์ โดยแนวคิด Znail ถูกพัฒนาด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตั้งต้นมาจากสามล้อถีบสมัยโบราณที่เคยทำหน้าที่รับส่งผู้คนจากตรอก ซอกซอยสู่อีกจุดหมายในเขตพื้นที่เดียวกัน โดย Znail จะให้บริการเป็นเสมือน District smart feeder service มากกว่าจะเป็น taxi service โดย Znail จะมีขอบข่ายการให้บริการจากบ้านถึงขนส่งสาธารณะภายในเขตใกล้เคียงโดยมีระยะการให้บริการในรัศมีภายในเขตไม่เกิน 3 ตารางกิโลเมตรหรือภายใน 1 เขตอำเภอ
ZNAiL
Main Transport Connectivity
ZNAIL
การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่วในทุกตรอกซอกซอย
ด้วยแนวคิดการออกแบบขนาดและรูปลักษณ์ให้เหมาะสมสำหรับเดินทางตามซอกซอยของเมือง ZNAIL สามารถเดินทางส่งผู้โดยสารถึงประตูบ้านในทุกพื้นที่อย่างสะดวกสบายและมีความปลอดภัยสูง
สะอาด ให้ความสะดวกสบายเหมือนรถส่วนตัว
ZNAIL ถูกออกแบบให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวกสบายอย่างสูงสุดเหมือนนั่งอยู่ในรถส่วนตัว โดยทีมนักออกแบบมีเป้าหมายการออกแบบรถที่ให้ความสะดวกสบาย รู้สึกปลอดภัยแม้ยามเดินทางในเวลาค่ำคืนสำหรับผู้หญิงเดินทางคนเดียว เด็ก คนชรา หรือแม้แต่คนพิการก็สามารถใช้บริการของ Znail ได้อย่างวางใจ
ระบบขนส่งมวลชนที่ต้นทุนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ZNAIL เป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่ใช้แผงโซล่าเซล เพื่อเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน อีกทั้งติดตั้งสถานีหัวจ่ายพลังงานไฟฟ้าในจุดต่างๆของเขต
ใช้งานง่าย ราคาประหยัด คืนต้นทุนเร็ว
ZNAIL ถูกออกแบบให้เป็นพาหนะใช้เดินทางในเขตอำเภอเท่านั้น ลูกค้าสามารถเรียกใช้งานได้รถอย่างรวดเร็วด้วยค่าใช้จ่ายเท่ากับรถสามล้อราคาเดียวตลอดทั้งเส้นทาง มีต้นทุนการลงทุนที่ต่ำ และสามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็ว
Business Concept
Znail ให้บริการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่างจุดเรียกไปถึงขนส่งสาธารณะที่ใกล้ที่สุดในเขตนั้นๆ ลูกค้าของ Znail คือผู้ที่ต้องการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะเท่านั้นและไม่มีรถยนต์ส่วนตัว อายุ 15 – 35 ปี โดยกลุ่มแรกที่จะเป็นเป้าหมายคือผู้อยู่อาศัยในเขตเมืองรอบนอกของกรุงเทพฯ ส่วนในอนาคต Znail มีแผนที่จะให้บริการในเมืองหลักต่างๆ เช่น เชียงใหม่ เชียงราย เป็นต้น
Znail ให้บริการโดยผ่านการจองทาง application ซึ่งผู้ใช้จะต้องลงชื่อเป็นสมาชิกก่อน โดยในระยะแรก Znail จะเป็นระบบให้บริการสมาชิกเท่านั้นเพื่อให้การรับส่งสามารถทำได้อย่างเพียงพอโดยเราคาดคะเนว่าต้องมีรถ 1 คันต่อสมาชิก 20 คน ขณะเดียวกัน Znail ยังเป็น logistic service ที่ให้บริการขนส่งสินค้าในระยะใกล้ๆในเขตนั้นๆ
Social Mission
ZNAIL ถูกออกแบบให้เป็นธุรกิจต้นแบบที่สร้างผลกำไรที่ดีโดยดูแลต้นทุนที่สมเหตุสมผลและขณะเดียวกัน ก็สามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย
ผลกระทบเชิงสิ่งแวดล้อม
จุดหมายสูงสุดของ Znail คือการทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าการมีรถยนต์เป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป เพื่อลดการครอบครองและใช้รถยนต์ในเขตเมืองอันจะเป็นการลดจำนวนการผลิตคาร์บอนอย่างมหาศาลที่สามารถวัดค่าได้
ผลกระทบด้านสังคม
Znail สร้างระบบการให้บริการที่จะสร้างงานใหม่ให้เกิดขึ้นในชุมชนและมีระบบดูแลพนักงานที่ดี มีประกันสุขภาพ โดย Znail รับสมัครพนักงานจากผู้ที่เปลี่ยนใจจากการขับจักรยานยนต์รับจ้างในเขตนั้นๆหรือผู้ขับแท็กซี่ที่ต้องการมีรายได้ที่ดีโดยไม่ต้องแบกรับภาระต้นทุนการเช่าแท็กซี่รายวันที่ต้องเจอภาวะรถติดทั้งวันและรายได้ไม่เพียงพอมาขับ Znail แทน