top of page

SAVE EARTH START UP

1200px-Sustainable_Development_Goal_6_ed
E_SDG goals_icons-individual-rgb-14.png

THE OCEAN PINK

ธุรกิจดูแลท้องทะเลด้วยศิลปะและเทคโนโลยี

o-WATER-BOTTLE-TRASH-facebook.jpg

“ทุกวันนี้มีขยะพลาสติกที่ถูกทิ้งลงทะเลเป็นจำนวนมหาศาล รวมตัวกันได้เทียบเท่ากับรัฐเท็กซัส ซึ่งกำลังไหลวนเรื่อยๆ ไปในท้องมหาสมุทรของโลก”

"Charles Moore"

นักอนุรักษ์ทางทะเลกล่าวในงาน TedX New York

OCEAN PINK

Save Our Ocean With Art & Love

OVERVIEW

ประเทศไทยเป็นประเทศที่ทิ้งขยะลงทะเลเป็นอันดับ 6 ของโลก ขณะที่ 5 ประเทศหลักในทวีปเอเชียทิ้งขยะลงทะเลเป็น 60% ของขยะที่ล่องลอยอยู่ในมหาสมุทร

( ข้อมูลจาก Science.org )  

 

CONSEQUENCES

ปัญหาจากการมีขยะจำนวนมหาศาลที่ถูกทิ้งลงทะเลทุกวันทำให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากมาย และมีผลกระทบชัดเจนต่อมนุษย์และสัตว์น้ำในทะเลซึ่งสามารถสรุปเป็น 3 ประเด็นหลักได้แก่

Impact of ocean eco system

ภายในปี 2050 จำนวนขยะในท้องทะเลจะมีจำนวนที่มากกว่าปลา โดยองค์กรสหประชาชาติได้แสดงความห่วงใยถึงสภาพของมหาสมุทรที่เลวร้ายลงเรื่อยๆ การใช้พลาสติกมากมายบวกกับการจัดการขยะพลาสติกอย่างไม่ถูกวิธีจะสร้างอันตรายต่อวงจรชีวิตของสัตว์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ในท้องทะเล โดยเฉพาะอาหารของสัตว์น้ำในทะเลส่วนใหญ่ คือ แพลงตอน และปลาตัวเล็ก เมื่อไม่สามารถแยกระหว่างถุงพลาสติกและอาหารได้ สัตว์น้ำเหล่านั้นจึงกลืนขยะพลาสติกเข้าไปในท้อง ซึ่งทำให้ระบบทางเดินอาหารผิดปกติและไม่สามารถย่อยพลาสติกได้จึงทำให้เสียชีวิตในที่สุด มีบันทึกว่ามีสัตว์ที่เสียชีวิตจากสาเหตุนี้เกือบ 2 ล้านตัวต่อปี

Impact of human food chain

จากผลการศึกษาระบุว่าผลกระทบของพลาสติกที่มีต่อสิ่งแวดล้อมนั้นมีความรุนแรงมหาศาล เนื่องมาจากกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพไม่สามารถกําจัดพลาสติกเหล่านี้ได้ ทั้งพลาสติกและสารเติมแต่งต่างๆ ไม่ได้เพียงแค่วนเวียนอยู่รอบๆตัวเราเท่านั้น แต่มันสามารถเข้าสู่ร่างกายของเราได้โดยการกินอาหารจากสัตว์ทะเลที่กลืนกินพลาสติกเข้าไป การดื่มน้ำ หรือ

ทางอื่นๆ ซึ่งสารเหล่านี้สามารถตรวจวัดได้จากการตรวจเลือดและปัสสาวะ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ในทุกๆปี พลาสติกประมาณ 1.5 ล้านตัน ได้ถูกใช้ในกระบวนการผลิตขวดน้ำสําหรับตลาดโลก โดยใช้กระบวนการที่มีการปล่อยสารพิษ ( toxics release) เช่น นิกเกิล, ethylbenzene, เอทิลีนออกไซด์และเบนซิน โดยขวดเหล่านี้ประกอบไปด้วยพลาสติกที่เรียกว่า terephthalate polyethylene (PET)

Impact of human health

ขยะพลาสติกที่อยู่ในทะเลเมื่อโดนคลื่นลมและแสงอาทิตย์จะแตกตัวออกกลายเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ เรียกว่า ไมโครบีดส์ (Microbeads) มีการวิจัยในน่านน้ำญี่ปุ่นพบว่ามีสารพลาสติกในระบบย่อยอาหารและลำไส้ของปลา 49 ตัว จากทั้งหมด 64 ตัว ซึ่งขยะไมโครพลาสติกจะดูดซับสารเคมีที่เป็นอันตราย เช่น โพลีคลอริเนตไบฟีนิล (Polychlorinated biphenyls) หรือ พีซีบี (PCBs) พิษของพีซีบี

ไม่ได้ส่งผลแบบเฉียบพลัน แต่จะค่อยๆ สะสมในร่างกายทีละน้อยๆ เป็นเวลานานจนเกิดอาการเรื้อรังในที่สุด โดยอาการเริ่มแรกของการเกิดพิษ คือ รู้สึกเหนื่อยล้า เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน และแขนขาเกิดอาการบวม อาการต่อมาคือ เกิดฝีและตุ่มเล็กๆ ที่ผิวหนัง และเล็บคล้ำ เปลือกตาบวม นอกจากนี้ยังอาจทำลายระบบประสาท ทำให้เกิดความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน และอาจทำให้เกิดมะเร็งได้ นอกจากนี้ทารกที่เกิดจากมารดาที่ได้รับสารพีซีบีจะมีน้ำหนักตัวต่ำกว่าปกติ และมีอาการทางผิวหนัง เนื่องจากได้รับสารพิษผ่านทางรก

AMBITION

สร้างเทคโนโลยีหุ่นยนต์เพื่อสามารถปลูกป่าให้เร็วกว่าการตัด เพื่อให้เป็นสมบัติของมนุษยชาติ ด้วยการออกแบบระบบหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานปลูกป่า 24 ชั่วโมงต่อวัน 365 วันต่อปี เพื่อให้ได้ต้นไม้ 1000 ล้านต้นตามเป้าหมายต่อปี และดูแลป่าเพื่อการจัดการและป้องกันการบุรุก 

BUSINESS MODEL

ทุกปี  นักท่องเที่ยวจำนวนหลายแสนคนต่างพากันมาท่องเที่ยว ณ อุทยานแห่งชาติทางทะเล การบริโภคในสถานที่ของอุทยานจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สิ่งที่ตามมากับการท่องเที่ยว คือ จำนวนขยะมากมายซึ่งต้องการการดูแลอย่างถูกวิธี ซึ่งการนำขยะออกมากำจัดบนฝั่งนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใช้ทรัพยากรและพลังงานเพิ่มขึ้นมากมายแต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัดและกำลังคนที่ไม่เพียงพอ จึงทำให้สถานที่ท่องเที่ยวหลายที่มีขยะสะสมเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้นทุกวัน ด้วยกระบวนการจัดการที่ต้องใช้ต้นทุนสูง และไม่มีการสนับสนุนงบประมาณที่เพียงพอเพื่อให้เกิดการกำจัดขยะอย่างถูกต้อง ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อสิ่งแวดล้อมรอบเกาะ โดยเฉพาะอุทยานในทะเลต่างๆ จนต้องมีนโยบายปิดเกาะเพื่อเก็บกวาดขยะและฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล นำมาซึ่งการสูญเสียรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่าหลายพันล้านต่อปี อาทิเช่น เกาะตาชัย เป็นต้น

 

 

TECHNOLOGY STRATEGY

Ocean Pink   เป็นธุรกิจเพื่อสังคม มองแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยการใช้หลักการ การบริโภคที่ไม่สร้างขยะ  นำนวัตกรรมมาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากต้นตอนั่นคือ

ความต้องการการบริโภคน้ำและอาหารจากภายนอก โดยใช้เทคโนโลยีน้ำจากอากาศเป็นเทคโนโลยีแรกในการนำร่องในการแก้ไขปัญหาผ่านกระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ

 

 

1. BIO SEED

เมล็ดพันธุ์ที่มีความแข็งแรงพอพร้อมที่จะเติบโตด้วยวิธีการใหม่ได้

การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่แข็งแรงจนสามารถมีชีวิตรอดและเติบโตในป่าทุกสภาพได้เป็นหนึ่งในงานวิจัยหลักของ Reforebot เราพัฒนาเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้สายพันธุ์หลักต่างๆที่เป็นองค์ประกอบหลักของการปลูกป่า โดยได้ทำการเริ่มต้นทดลองและพัฒนาตั้งแต่ปี 2016 ทั้งหมด 22 สายพันธุ์

นอกจากนี้ เรายังพัฒนา bio shield ดักแด้เพาะเลี้ยงเมล็ดพันธุ์ในช่วงที่อยู่ในป่าและกำลังรอการเติบโต เป็นบ้านที่หล่อเลี้ยงและให้อาหารเมล็ดพันธุ์ ปกป้องจากการรุกรานของสัตว์ในป่าเพื่อให้เมล็ดพันธุ์มีอัตราการรอดให้มากที่สุด

Seedbomb400x290.jpg

2. ROBOT PLANTORS

กลุ่มหุ่นยนต์ปฏิบัติการณ์ปลูกป่าและดูแล

หุ่นยนต์ปลูกป่ามีหน้าที่ทำงานที่เหนื่อยล้าแทนแรงงานมนุษย์ หุ่นยนต์ปลูกป่าถูกออกแบบให้ทำงานในหน้าที่ที่ต่างกันแต่สนับสนุนการทำงานของกันและกัน โดยแบ่งงานเป็นขั้นตอนต่างๆดังต่อไปนี้

screen-shot-2015-02-17-at-09-50-39.png

1. SITE MAPPING ROBOT  หุ่นยนต์สำหรับการเตรียมเก็บข้อมูลพื้นที่ปลูก

การจัดเตรียมพื้นที่ปลูกจะต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างแผนที่การปลูกแบบ 3 มิติและเลือกพันธุ์ไม้ตามการออกแบบป่าเพื่อที่จะจัดเส้นทางการปลูกให้กับระบบขับเคลื่อนโดรนเพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดในระยะเวลาของการปลูกที่สั้นที่สุด

Picture11.png
Picture12.png

2. TREE PLANTING ROBOT  หุ่นยนต์บินปลูกอัตโนมัติตามแผนที่ 3 มิติ

เมื่อแผนที่ 3 มิติพร้อมแล้ว โดรนจึงออกบินตามเส้นทางปลูกโดยมีระบบ GPS นำทางโดยจะบินสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร และสามารถปลูกต้นไม้ได้ด้วยความเร็ว 4 นาทีต่อ 1 ไร่ หรือปลูกต้นไม้ได้ 400 ต้นใน 1 นาที

3. DATA COLLECTION ROBOT  หุ่นยนต์บินเก็บข้อมูลการเติบโต

เมื่อปลูกต้นไม้เรียบร้อยแล้วขั้นตอนต่อไปคือการเก็บข้อมูลการเติบโตและวัดผลการสูญเสียในระยะเริ่มต้น โดยเก็บสถิติข้อมูลการสูญเสียเพื่อเริ่มปลูกทดแทน

Picture13.png
unnamed.jpg

4. PLANTATION SURVEILLANCE ROBOT  หุ่นยนต์เฝ้าดูแลและกันการบุกรุก 

อุปสรรคของการปลูกป่าที่แล้วๆมาคือขาดการดูแลอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากการปลูกเป็นพื้นที่บริเวณกว้างต้องการแรงงานจำนวนมาก ทำให้ต้นทุนการดูแลสูงตามมา อุปสรรคอีกอย่างที่พบคือการรุกล้ำพื้นที่ป่าเพื่อทำการเพาะปลูกอย่างผิดกฏหมายจากผู้ลักลอบ ระบบ surveillance จะบินทำการสำรวจพื้นที่ปลูกและประมวลผลต้นไม้ที่ปลูกไปทุกต้นรา ยวัน อีกทั้งจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนภัยไปยังเจ้าหน้าที่รักษาป่าทันทีในกรณีที่มีการบุกรุกผืนป่า โดยมีระยะการบิน 75 กิโลเมตรต่อการชารจ์พลังงาน 1 ครั้ง

3. Ai CONTROL SYSTEM

ระบบอัจฉริยะควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์

ระบบจัดการการปลูกป่าอัตโนมัติและเชื่อมการทำงานของหุ่นยนต์กลุ่มต่างๆ ประมวลผล เก็บข้อมูลการเติบโตของต้นไม้ การเปลี่ยนแปลงของสภาพลมฟ้าอากาศ ข้อมูลของแร่ธาตุในดิน ประเมิณการเจริญเติบโตของต้นไม้และวางแผนการปลูกต้นไม้ตามภูมิประเทศ ป้องกันผู้บุกรุกลักลอบตัดไม้อย่าง real time

Picture10.png

ECONOMY & ENVIRONMETAL IMPACT

การปลูกป่าให้ได้อย่างรวดเร็วคือการลดความหายนะที่จะเกิดจากสภาวะโลกร้อน แต่ขณะเดียวกันมุมมองในเชิงเศรษฐกิจของป่ากลับไม่ได้เป็นที่รับรู้กันมากนัก ในมุมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม  การมีป่าจะช่วยให้เกิด FOREST ECONOMY คือเศรษฐกิจใหม่ที่มีมูลค่าสูงและช่วยให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้นได้อย่างมากมาย

 

1. FOREST FOOD FARM อาหารที่บริสุทธิ์ ไร้การปนเปื้อนจากสารเคมีทั้งปวง ความหลากหลายของสายพันธุ์และรสชาติจะกลายเป็นสิ่งที่น่าค้นหา ป่าสมบูรณ์ที่ผลิตอาหารให้มนุษย์จะได้รับการต้อนรับอย่างดีและมีมูลค่าสูงสำหรับผู้บริโภคกลุ่มผู้รักสุขภาพและมีรายได้สูงอาหารจากป่าบริสุทธิ์ได้กลายมาเป็นวัตถุดิบชั้นสูงที่มีราคาแพงและได้รับการเคารพจากหมู่เชฟอาหารชั้นสูงในประเทศยุโรป

 

2. FOREST MEDECIN  ป่า  เป็นที่เกิดของพันธุ์ไม้นานๆพันธุ์  พัฒนาเปลี่ยนไปตามสภาพแวดล้อมและสัตรูในแต่ละยุคสมัย ป่าที่มีความหลากหลายและห่างไกลจากการรบกวนของมนุษย์ให้สมุนไพรคุณภาพวิเศษที่สามารถนำมาเป็นต้นแบบยารักษาโรคในวิถีธรรมชาติได้ ขณะเดียวกัน  ความหลากหลายทางชีวภาพก็สามารถผลิตพันธุ์ไม้ใหม่ๆและยาสมุนไพรใหม่ๆได้ด้วยเพราะป่าไม้มีการปรับตัวอยู่อย่างตลอดเวลาเพื่อรับมือกับสภาพอากาศและศัตรูจากภายนอกที่เปลี่ยนไป

 

3. FOREST TOURISME  การท่องเที่ยวเยี่ยมชมป่าจะเป็นหนึ่งในการท่องเที่ยวแห่งอนาคตและป่าจะเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจให้กับผู้คนในเมืองได้อย่างสำคัญพอๆกับสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ หลายๆประเทศเริ่มพัฒนาโรงแรมให้ตั้งอยู่ในป่าลึกเพือห่างไกลผู้คนแต่มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม การใช้ป่าเป็นสถานที่พักผ่อนเป็นการลงทุนที่ต่ำแต่ได้ผลประโยชน์หลากหลายและคุ้มค่า การท่องเที่ยวป่ากลายเป็นสิ่งที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนโดยที่เป็นการลงทุนเพียงครั้งเดียวคือการสร้างสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติของเด็กๆและยังสามารถผลิตอาหารเพื่อใช้บรโภคหรือแม้แต่เป็นฟาร์มผลิตยารักษาโลก

4. FOREST ENERGY  หลายงานวิจัยกล่าวว่า ต้นไม้ 1 ต้นสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ป่าอาจจะกลายเป็นหนึ่งในแหล่งพลังงานของโลกในอนาคตในอีกไม่กี่ปีนี้ ผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์หลายคนทั่วโลกกำลังวิจัยการนำกระแสไฟฟ้าจากต้นไม้มาใช้งาน ป่าที่ผลิตกระแสไฟฟ้าได้อาจจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในด้านพลังงานของมนุษย์โดยที่ไม่ต้องลงทุนผลิตอะไรมากมายและเสื่อมสลายไปกลายเป็นขยะที่ต้องจัดการต่อไป

STATUS  2021 

REFOREBOT สามารถพัฒนา Bio Seed ให้มีโอกาสรอดชีวิตในพื้นที่ต่างกันเป็นอัตราที่ 75% การพัฒนา Seed Shield เริ่มดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ โครงการได้รับความสนใจจากบริษัท SCG และกำลังอยู่ในช่วงเจรจาเพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีร่วมกัน 

REBORBOT กำลังมองหา technology partner ในด้าน robotic และ Ai ในการพัฒนาส่วนประกอบด้านอื่นๆของโครงการ บริษัทที่สนใจทำโครงการ CSR หรือบริษัทที่ต้องการซื้อ carbon credit สามารถติดต่อกับบริษัทไ้ด้โดยตรง

FOUNDERS & TEAM

REFOREBOT คือ โครงการร่วมมือกันทั้งทางภาคการศึกษาและภาคเอกชน โดยบริษัท EcoloTech เป็นผู้พัฒนาโครงการร่วมกับ Professor Stephen Elliott ผู้พัฒนา Bio bullet และ BioCarbon Engineering แห่งสหราชอาณาจักร ในการร่วมมือกันผลักดันให้เกิดการปลูกป่าแบบอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและใช้แรงงานคนต่ำ โครงการอยู่ในช่วงพัฒนาและระดมทุนจากเอกชนผู้สนใจในรูปแบบธุรกิจเพื่อความยั่งยืนและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆเพื่อต่อยอดไปสู่เทคโนโลยีเกษตรกรรมชั้นสูงต่อไป

Picture15.png

Stephen Elliott PhD

Forest Ecology from

Edinburgh University

Picture16.png

Pakpoum Mahasith

CEO EcoloTech

Picture17.png

บริษัทพัฒนาโดรนชั้นสูง

England

image11.jpeg
bottom of page